1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
– กลุ่มภาษาและการสื่อสาร 12 หน่วยกิต
รหัส ชื่อและคำอธิบายรายวิชา น(ท-ป-ศ)
GED1001 สารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า 3(3-0-6)
Information Study Skill
ความสำคัญของสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและแหล่งสารสนเทศอื่น ทักษะการรับรู้สารสนเทศ การสืบค้น การรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศเพื่อนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าและการอ้างอิง จริยธรรมในการใช้สารสนเทศ ตลอดจนสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
GED1002 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 3(3-0-6)
Thai for Communication
ศึกษาภาษาไทยในฐานะเป็นเครื่องมือในการสื่อสารโดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการปฏิบัติ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ศึกษาหาความรู้จากประสบการณ์จากการอ่าน การฟังสารต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสามารถนำเสนอความรู้ที่ได้ตามขั้นตอนและรูปแบบของการนำเสนอด้วยการเขียนและการพูด
GED1003 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3(3-0-6)
English Basics
พัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน สามารถฟังและเข้าใจข้อความหรือบทสนทนาได้ โดยใช้กลยุทธ์การฟังที่เหมาะสม เน้นความสามารถในการใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสาร สามารถพูดบทสนทนาในชีวิตประจำวัน ใช้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียน และใช้ภาษาอังกฤษในการเล่าเรื่อง และอธิบายเรื่องราวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สามารถอ่านและวิเคราะห์โครงสร้างประโยคที่ซับซ้อนได้ สามารถใช้กลยุทธ์การอ่านที่เหมาะสมในการทำความเข้าใจเนื้อเรื่องและการสรุปใจความสำคัญ สามารถเขียนข้อความสั้นๆ และสามารถใช้พจนานุกรมประกอบการเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
GED1004 ภาษาอังกฤษเพื่อการประยุกต์ใช้ 3(3-0-6)
English for Application
เรียนรู้กลวิธีในการใช้ทักษะทั้ง 4 ด้านเพื่อจุดประสงค์เฉพาะในการเรียนรู้วิชาการในศาสตร์ของตน การสมัครงานและการทำงานในองค์การ ด้านการอ่านเน้นการสรุปความ การวิเคราะห์ และตีความจากสิ่งที่อ่าน ด้านการเขียนเน้นการเขียนความเรียงทางวิชาการ โดยใช้ข้อมูลจากการค้นคว้าจากแหล่งอ้างอิงที่เหมาะสม ด้านการฟังเน้นการสรุปความ และแปลความหมายจากสิ่งที่ได้รับฟัง ด้านการพูดเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสาขาวิชาและการพูดโดยฉับพลันในชีวิตประจำวันได้
– กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์เลือกเรียนอย่างน้อย 6 หน่วยกิต ให้เลือกเรียน รายวิชาพุทธทาสศึกษา หรือรายวิชาปรัชญากับชีวิต 1 รายวิชา และวิชาที่เหลืออีก 1 รายวิชา
รหัส ชื่อและคำอธิบายรายวิชา น(ท-ป-ศ)
GED2001 พุทธทาสศึกษา 3(3-0-6)
Buddhadasa Studies
ศึกษาคำสอน วิธีคิด และกระบวนการเรียนรู้ของท่านพุทธทาส ปณิธาน 3 ประการ ในการให้ศาสนิกเข้าถึงความหมายอันลึกซึ้งซึ่งเป็นที่สุดแห่งศาสนาของตน การทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา การนำเพื่อนมนุษย์ให้ออกเสียจากวัตถุนิยม การประยุกต์คำสอน และวิธีปฏิบัติตามทางของท่านพุทธทาสสู่การดำรงชีวิตที่สมถะ เรียบง่าย และพอเพียง
GED2002 ปรัชญากับชีวิต 3(3-0-6)
Philosophy and Life
แนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาและกลุ่มลัทธิปรัชญา แนวทางในการดำเนินชีวิตและทำงานตามแนวปรัชญาและศาสนา โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม จัดกิจกรรมการเรียนรู้การบูรณาการทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเองและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
GED2003 การพัฒนาตน 3(3-0-6)
Self Development
พฤติกรรมมนุษย์ สาเหตุปัจจัยแห่งพฤติกรรมมนุษย์ ทฤษฎีทางจิตวิทยา เพื่อการวิเคราะห์ตนเอง การวิเคราะห์ตนเองเพื่อการพัฒนาตนทั้งด้านร่างกาย จิตใจและทักษะชีวิต การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี การแก้ปัญหาภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มอย่างสร้างสรรค์ การรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคมส่วนรวม การประเมินผลการพัฒนาตนเองเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
GED2004 สุนทรียศาสตร์ 3(3-0-6)
Aesthetics
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคุณค่า และความงามท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม การรับรู้คุณค่าและการสัมผัสความงามและการแสดงออกทางอารมณ์ของมนุษย์ รับรู้ และเรียนรู้เกี่ยวกับคุณค่าและความงามในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ เช่น ความงามในด้านศิลปะดนตรี นาฏศิลป์ตลอดจนความงามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์
– กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
กำหนดให้เลือกเรียนอย่างน้อย 6 หน่วยกิต
รหัส ชื่อและคำอธิบายรายวิชา น(ท-ป-ศ)
GED3001 วิถีโลก 3(3-0-6)
Global Society and Living
การดำรงอยู่ของมนุษย์ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงโลก สถานการณ์ด้านสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ เทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงโลกที่ส่งผลกระทบต่อประชากรโลกและประเทศไทย การปรับตัวของประเทศไทยในการเป็นประชาคมโลกและประชาคมอาเซียน
GED3002 วิถีไทย 3(3-0-6)
Thai Living
โครงสร้างและวิวัฒนาการของสังคมและวัฒนธรรมไทย การรักษาเสถียรภาพ เอกลักษณ์ของสังคมไทย ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคม การรับรู้สิทธิหน้าที่ของพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
GED3003 กฎหมายกับสังคม 3(3-0-6)
Law and Society
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมาย ชีวิตและสังคม สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลตามกฎหมาย พื้นฐานความรับผิดในทางแพ่งและในทางอาญา กระบวนการยุติธรรมของไทยตามประมวลกฎหมาย และวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตและสังคม เช่น กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน เป็นต้น
– กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กำหนดให้เรียน 9 หน่วยกิต
รหัส ชื่อและคำอธิบายรายวิชา น(ท-ป-ศ)
GED4001 วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต 3(3-0-6)
Science for Quality of Life
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ศึกษาสาเหตุ ผลกระทบ แนวทางการแก้ไขสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการดูแลตนเองตามสุขอนามัย ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี สภาพแวดล้อม สังคม การเมือง และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
GED4002 การคิดและการตัดสินใจ 3(3-0-6)
Thinking and Decision Making
หลักการ คุณค่าของการคิด ที่มาและธรรมชาติของการคิด การพัฒนาทักษะการคิดแบบต่างๆ เช่น การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงวิพากษ์ การคิดเชิงวิเคราะห์และการใช้เหตุผล การคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น เทคนิควิธีและเครื่องมือในการคิดและการตัดสินใจ การสื่อสารความคิดสู่บุคคลอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
GED4003 คอมพิวเตอร์กับชีวิต 3(2-2-5)
Computer and Life
บทบาท ความสำคัญของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศต่อชีวิตและสังคม ปฏิบัติการและประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการแสวงหาความรู้และสื่อสารข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้สารสนเทศ โดยคำนึงถึงจริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2) หมวดวิชาเฉพาะด้าน 85 หน่วยกิต |
|
|
– กลุ่มวิชาเนื้อหา 78 หน่วยกิต |
|
|
กลุ่มวิชาบังคับ 54 หน่วยกิต |
|
|
รหัส |
|
ชื่อและคำอธิบายรายวิชา |
น(ท-ป-ศ) |
|
ILS0101 |
|
สารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ในบริบทของสังคม
Information and Library Science in Social Context |
3(3-0-6) |
|
ความหมาย ความสำคัญ บทบาทของสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์สังคมสารสนเทศและสังคมความรู้ ผลกระทบของสารสนเทศที่มีต่อสังคม การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีผลต่อการผลิต การแพร่กระจาย การแสวงหา การเข้าถึง และการใช้สารสนเทศในสังคม นโยบายสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ บทบาทของวิชาชีพสารสนเทศในการจัดบริการสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นพลวัต จริยธรรมวิชาชีพและการศึกษาทางสารสนเทศ |
|
ILS0102 |
|
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
Information Technology for LifeLong Learning |
3(2-2-5) |
|
ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการเรียนรู้ บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในงานห้องสมุดเพื่อการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ |
|
ILS0201 |
|
การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
Information Resources Development |
3(2-2-5) |
|
ความหมาย ประเภทและรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศ การศึกษาผู้ใช้ การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ การวางแผนและจัดทำนโยบาย การเลือก การใช้เครื่องมือช่วยในการเลือก แหล่งผลิตและจำหน่าย การบริหารงบประมาณ การประเมินคุณค่า การจัดหา การสั่งซื้อแบบออนไลน์ การบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศ การจำหน่ายออก และการฝึกปฏิบัติ |
|
ILS0202 |
|
การวิเคราะห์สารสนเทศ 1
Information Analysis 1 |
3(2-2-5) |
|
แนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์สารสนเทศ หลักเกณฑ์ทั่วไปในการวิเคราะห์สารสนเทศ การสร้างระเบียนรายการสารสนเทศ มาตรฐานการลงรายการสารสนเทศ การจัดหมู่ตามระบบทศนิยมของดิวอี้ การกำหนดหัวเรื่อง คำสำคัญ และการกำหนดเลขเพื่อการจัดการสารสนเทศ |
|
ILS0203 |
|
การทำรายการทรัพยากรสารสนเทศ 1
Cataloging of Information Resources 1 |
3(2-2-5) |
|
ความหมาย และความสำคัญของการทำรายการสารสนเทศ คู่มือที่ใช้ในการทำรายการ หลักเกณฑ์และมาตรฐานการลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การบันทึกรายการหนังสือภาษาไทยในรูปแบบมาตรฐาน AACR II |
|
ILS0205 |
|
การทำรายการทรัพยากรสารสนเทศ 2 Cataloging of Information Resources 2 |
3(2-2-5) |
|
การทำรายการทรัพยากรสารสนเทศประเภทไม่ตีพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไทยและอังกฤษ ตามหลักเกณฑ์ของ MARC และการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการทำรายการ |
|
ILS0301 |
|
การจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ
Information Storage and Retrieval |
3(2-2-5) |
|
ความหมาย ความสำคัญ กระบวนการจัดเก็บ และการค้นคืนสารสนเทศ เทคโนโลยีเพื่อการจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ เทคนิคการค้นคืนสารสนเทศจากฐานข้อมูล และอินเทอร์เน็ต การประเมินผลการค้นคืนสารสนเทศ |
|
ILS0302 |
|
การบริการและเผยแพร่สารสนเทศ
Information Services and Dissemination |
3(3-0-6) |
|
ความหมาย ความสำคัญ ประเภท รูปแบบการบริการและการเผยแพร่สารสนเทศ หลักการและวิธีการจัดการบริการและการเผยแพร่สารสนเทศ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริการ ความร่วมมือและเครือข่ายการบริการห้องสมุดและเผยแพร่สารสนเทศ คุณสมบัติและบุคลิกภาพที่ดีของผู้ให้บริการสารสนเทศและผู้ใช้บริการ ความต้องการการบริการ จริยธรรมในงานบริการและเผยแพร่สารสนเทศ |
|
ILS0303 |
|
ภาษาอังกฤษสำหรับนักสารสนเทศและบรรณารักษ์
English for Information Specialists and Librarians |
3(3-0-6) |
|
หลักการและทฤษฎีการใช้ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ทักษะการพูด การฟัง การอ่านและการเขียนในงานสารสนเทศและบรรณารักษศาสตร์ |
|
ILS0304 |
|
แหล่งสารสนเทศ
Information Resources |
3(3-0-6) |
|
ความหมาย ความสำคัญ ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ และแหล่งสารสนเทศ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี การประเมิน การเลือกการเข้าถึง แหล่งสารสนเทศ ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย |
|
ILS0305 |
|
พฤติกรรมผู้ใช้และความต้องการสารสนเทศ
User Behavior and Information Needs |
3(3-0-6)
|
|
|
แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมสารสนเทศ จิตวิทยาบุคคลและองค์กร ความต้องการ และการแสวงหาสารสนเทศ ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้สารสนเทศของบุคคล และองค์กร การสร้างมนุษยสัมพันธ์ แรงจูงใจ พฤติกรรมปัจเจกบุคคลในการแสวงหาสารสนเทศ พฤติกรรมความต้องการสารสนเทศกับการจัดการห้องสมุด หน่วยงานสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ |
|
|
ILS0401 |
|
การบริหารห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้
Library and Learning Resources Center Administration |
3(3-0-6) |
|
หลักการ และทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ การบริหารห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ การจัดองค์กร การประกันคุณภาพ การกำหนดนโยบาย การจัดการเงิน พัสดุครุภัณฑ์บุคลากร อาคารสถานที่ การจัดสำนักงาน งานสารบรรณ การจัดการเอกสาร และการพัฒนาความร่วมมือและเครือข่ายห้องสมุด และแหล่งเรียนรู้ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง คุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพและภาวะผู้นำ |
|
ILS0501 |
|
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
Introduction to Computer Programming |
3(2-2-5) |
|
หลักการพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์ แนวคิดทางคณิตศาสตร์ และหลักไวยากรณ์สำหรับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาระดับสูงภาษาใดภาษาหนึ่งหรือฝึกการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูป |
|
ILS0502 |
|
การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ
Information System Analysis and Design |
3(3-0-6) |
|
หลักการ ทฤษฎี องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ วงจรการวิเคราะห์ระบบ การจัดหาระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของระบบสารสนเทศ วิธีการวิเคราะห์และการออกแบบระบบ ระบบเทคนิคและเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ การพัฒนาระบบ บำรุงรักษาระบบ การประเมินผลระบบ และการทำเอกสารระบบ |
|
ILS0503 |
|
การจัดการระบบฐานข้อมูล
Database System Management |
3(2-2-5) |
|
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับข้อมูลและฐานข้อมูล ประเภทและโครงสร้างของฐานข้อมูล การจัดการข้อมูลและระบบจัดการฐานข้อมูล โปรแกรมฐานข้อมูล ออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล และการประยุกต์ฐานข้อมูลสำหรับงานสารสนเทศเพื่อการจัดการสารสนเทศ |
|
ILS0504 |
|
ห้องสมุดดิจิทัล
Digital Library |
3(3-0-6) |
ความหมาย ความสำคัญ ประเภท รูปแบบและพัฒนาการของห้องสมุดดิจิทัล การจัดการและพัฒนาทรัพยากรดิจิทัลเพื่อให้บริการ การออกแบบการจัดเก็บ การเข้าถึง และการบริการห้องสมุดดิจิทัล มาตรฐานการสื่อสารข้อมูล นโยบายที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดดิจิทัล การบริหารจัดการและการประเมินผลห้องสมุดดิจิทัล |
ILS0601 |
|
การวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
Research in Information and Library Science |
3(3-0-6) |
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย การเลือกปัญหา การวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ การกำหนดวัตถุประสงค์ การปริทัศน์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องการออกแบบการวิจัย เครื่องมือการวิจัย การใช้สถิติสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนโครงการวิจัยและรายงานเพื่อเผยแพร่ผลการวิจัย และนำผลการวิจัยไปใช้ จริยธรรมของนักวิจัย |
ILS0602 |
|
สัมมนาทางวิชาชีพสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
Seminar on Information and Library Science Profession |
3(3-0-6) |
ความหมาย ความสำคัญ และประเภทของสัมมนา หลักการจัดและกระบวนการจัดสัมมนา กำหนดหัวข้อสัมมนา กรณีศึกษา การวางแผน การเตรียมการ วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือ จัดสัมมนา การดำเนินการระหว่างสัมมนา การดำเนินการหลังสัมมนา การประเมินผลการสัมมนา การวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาในการจัดสัมมนา |
กลุ่มวิชาเลือก เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 24 |
หน่วยกิต |
|
|
|
|
รหัส |
|
ชื่อและคำอธิบายรายวิชา |
น(ท-ป-ศ) |
|
ILS0103 |
|
การจัดการทรัพยากรสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต
The Management of Information Resources on the Internet |
3(2-2-5) |
|
แนวคิดเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต การจัดการการจัดระบบ การจัดเก็บและค้นคืน การบริการ การใช้สารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า |
|
ILS0204 |
|
การวิเคราะห์สารสนเทศ 2
Information Analysis 2 วิชาบังคับก่อน : ILS0202 การวิเคราะห์สารสนเทศ 1
Prerequisite : ILS0202 Information Analysis 1 |
3(2-2-5) |
|
การวิเคราะห์เนื้อหาทรัพยากรสารสนเทศ การสร้างตัวแทนเนื้อหาสาระ ของสารสนเทศ โดยระบบการจัดหมวดหมู่ ภาษาดรรชนี รูปแบบและมาตรฐานของภาษาดรรชนี สำหรับการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน |
|
ILS0206
|
|
การจัดการวารสารและหนังสือพิมพ์
Periodicals and Newspapers Management |
3(2-2-5) |
|
ความหมาย ความสำคัญ ลักษณะ ประเภทของวารสารและหนังสือพิมพ์ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การเลือก การจัดหา การเตรียม การจัดเก็บ การบริการวารสาร และหนังสือพิมพ์ การจัดทำเครื่องมือสืบค้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการ และบริการวารสารและหนังสือพิมพ์ |
|
ILS0306 |
|
การจัดการจดหมายเหตุ
Archives Management |
3(3-0-6) |
|
ความหมาย ความสำคัญ บทบาทของจดหมายเหตุและหน่วยงานจดหมายเหตุ การจัดหา จัดเก็บ จัดระบบ บริการและเผยแพร่ และสงวนรักษาจดหมายเหตุ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการจดหมายเหตุขององค์กร กฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการจดหมายเหตุ ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานจดหมายเหตุกับห้องสมุด |
|
ILS0307
|
|
การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน
Reading and Reading Promotion |
3(3-0-6)
|
|
ความหมาย ความสำคัญของการอ่าน กระบวนการอ่าน ระดับการอ่าน จิตวิทยาการอ่านของเด็กและผู้ใหญ่ ปัญหาและการแก้ปัญหาการอ่าน กิจกรรมและการจัดกิจกรรมส่งเสริม การอ่าน องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการอ่านและการส่งเสริมการอ่าน |
|
ILS0308 |
|
การจัดการสารสนเทศการท่องเที่ยว
Tourism Information Management |
3(3-0-6) |
|
ความหมาย ความสำคัญ ขอบเขต ประเภท และรูปแบบของสารสนเทศการท่องเที่ยว แหล่งผลิต เผยแพร่ และบริการสารสนเทศการท่องเที่ยว การประเมินคุณค่า การจัดเก็บ รวบรวม สืบค้นและบริการสารสนเทศการท่องเที่ยว ผู้ใช้ การใช้สารสนเทศการท่องเที่ยว |
|
ILS0309 |
|
การจัดการสารสนเทศสำนักงาน
Office Information Management |
3(3-0-6)
|
|
ความหมาย ความสำคัญ ประเภทของสารสนเทศสำนักงาน บริบทของสารสนเทศสำนักงาน สารสนเทศสำนักงานกับการจัดการความรู้ วงจรชีวิตของเอกสาร การไหลเวียน ของสารสนเทศในองค์กร บทบาทของผู้จัดการสารสนเทศในองค์การ ระบบการจัดการเอกสาร และสารสนเทศ กระบวนการจัดการเอกสาร และสารสนเทศขององค์กร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการสารสนเทศสำนักงาน |
|
ILS0310 |
|
การเขียนเพื่อการสื่อสารในงานสารสนเทศ
Writing for Communication in Information Work |
3(3-0-6) |
|
ความหมาย และรูปแบบของการเขียนและงานเขียน เพื่อการสื่อสารในงานห้องสมุด หน่วยงานสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ การเขียนย่อความ บทคัดย่อ บรรณนิทัศน์ การเขียนเพื่อ การประชาสัมพันธ์ และการเขียนเชิงวิชาการ |
|
ILS0311 |
|
การจัดการสารสนเทศธุรกิจ
Business Information Management |
3(3-0-6) |
|
ความหมาย ความสำคัญ ขอบเขต ประเภท และรูปแบบสารสนเทศธุรกิจ แหล่งผลิตเผยแพร่และบริการสารสนเทศทางธุรกิจ การดำเนินงานธุรกิจสารสนเทศ การตลาด กลยุทธ์การตลาด การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และการโฆษณา |
|
ILS0312 |
|
การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ในงานสารสนเทศ
Customer Relationship Management in Information Work |
3(3-0-6) |
|
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การบริการลูกค้า ลักษณะและความต้องการของลูกค้าในห้องสมุด หน่วยงานสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ ประเภทและคุณภาพของการบริการ การดูแลลูกค้า กลยุทธ์และแนวโน้มในการบริการลูกค้า เทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการจัดการ |
|
ILS0313 |
|
การสอนสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
Teaching in Information and Library Science |
3(3-0-6) |
|
ความหมาย ความสำคัญของการจัดการความรู้ หลักการ รูปแบบ และกระบวนการ การจัดการความรู้ กรอบแนวคิดการจัดการความรู้ การจัดการความรู้บุคคลและองค์กร การจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการความรู้ กรณีศึกษา |
|
ILS0402 |
|
การจัดการความรู้
Knowledge Management |
3(3-0-6) |
|
ความหมาย ความสำคัญของการจัดการความรู้ หลักการ รูปแบบ และกระบวนการ การจัดการความรู้ กรอบแนวคิดการจัดการความรู้ การจัดการความรู้ในองค์กร การจัดการความรู้กับ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการความรู้ กรณีศึกษา การจัดการความรู้บุคคลและองค์กร |
|
ILS0505 |
|
การออกแบบและพัฒนาสื่อดิจิทัล
Digital Media Design and Development |
3(2-2-5) |
|
ความรู้เกี่ยวกับสื่อดิจิทัล องค์ประกอบ และหลักการออกแบบและพัฒนา การเตรียมเนื้อหา การประยุกต์ใช้โปรแกรมกราฟิก โปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว การนำเสนอและพัฒนาสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ และการประยุกต์ใช้สื่อดิจิทัลในงานห้องสมุด หน่วยงานสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ |
|
ILS0506 |
|
การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
Web Design and Development |
3(2-2-5) |
|
แนวคิดเกี่ยวกับเว็บไซต์ องค์ประกอบ โครงสร้าง การออกแบบเว็บไซต์ การรวบรวมและการเรียบเรียงเนื้อหา การพัฒนาและนำเสนอเว็บไซต์เพื่อการบริการ สื่อสาร และประชาสัมพันธ์ การประยุกต์เว็บไซต์กับงานห้องสมุด หน่วยงานสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ แนวโน้มและทิศทางการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ |
|
ILS0507 |
|
เครือข่ายสังคมในงานสารสนเทศและห้องสมุด
Social Network in Information Work and Libraries |
3(2-2-5) |
|
ความหมาย ความสำคัญ ประเภท และรูปแบบของเครือข่ายสังคม ความสำคัญ และวิวัฒนาการของสังคมออนไลน์ การสร้างและวิธีการใช้งาน การใช้เครื่องมือและเทคนิค แนวปฏิบัติ ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ การสื่อสารและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสังคมออนไลน์ |
|
กลุ่มฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา |
|
1) สหกิจศึกษา |
|
|
|
รหัส |
|
ชื่อและคำอธิบายรายวิชา |
น(ท-ป-ศ) |
|
ILS0701 |
|
เตรียมสหกิจศึกษา
Pre-Co-Operative Education |
1(45) |
|
กิจกรรมปฐมนิเทศเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาให้มีความรู้ เจตคติ แรงจูงใจ และบุคลิกภาพ เพื่อให้นักศึกษานำไปใช้ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา |
|
ILS0702 |
|
สหกิจศึกษา
Co-Operative Education
วิชาบังคับก่อน : ILS0701 เตรียมสหกิจศึกษา Prerequisite : ILS0701 Pre-Co-Operative Education |
6(560) |
|
กรณีศึกษา และการปฏิบัติงานในห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ หรือหน่วยงานสารสนเทศ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา หรือไม่น้อยกว่า 560 ชั่วโมง |
|
2) ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ |
|
รหัส |
|
ชื่อและคำอธิบายรายวิชา |
น(ท-ป-ศ) |
|
ILS0703 |
|
การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
Preparation for Professional Internship in Information and Library Science |
2(90) |
|
กิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษา ก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ทางสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ การพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพ |
|
ILS0704 |
|
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสารสนเทศศาสตร์
และบรรณารักษศาสตร์
Professional Internship in Information and Library Scienceวิชาบังคับก่อน : ILS0703 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ Prerequisite : ILS0703 Preparation for Professional Internship in Information and Library Science |
5(450) |
|
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพในห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ หรือหน่วยงานสารสนเทศ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา หรือไม่น้อยกว่า 450 ชั่วโมง |
|